วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โครงงานการงานอาชีพ

โครงงานการงานอาชีพ 
เรื่อง 
1.เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส


คณะผู้จัดทำโครงงาน
๑.เด็กชายมนต์รัก           หาบุญมา        ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๑๒
๒.เด็กชายเอกลักษณ์      ทองราช          ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๑๕
๓.เด็กหญิงมินตรา          พระลิต           ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๒๗
๔.เด็กหญิงอังคณา          นุสนทรา        ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๒๒
๕.เด็กชายสุจินดา            นาเจริญ          ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๗
๖.เด็กชายจิรกฤต             ปะสาวะนัง     ชั้น ม . ๒    เลขที่  ๑๓
๗.เด็กหญิงสุริฉาย           ประวันเณย์     ชั้น  ม . ๒   เลขที่  ๒๔
๘.เด็กชายจิรายุทธ           จำเริญขวัญ     ชั้น  ม . ๒   เลขที่  ๑๔
๙.เด็กชายอาทิตย์              สังสีราช         ชั้น  ม . ๒   เลขที่  ๔
๑๐.เด็กชายณัฐกานณ์       สิงห์สถิต        ชั้น  ม . ๒   เลขที่  ๑

คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน
นาย จำรัส        เจริญนนท์
โรงเรียนบ้านโสกแดง  อำเภอแกดำ  จังหวัดมหาสารคาม

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานการงานอาชีพ  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ประเภทโครงงานสำรวจการเรียนรู้การงานอาชีพ  รหัสวิชา ง ๓๒๑๐๑



หัวข้อโครงงาน            เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส
ผู้จัดทำ                       
๑.เด็กชายมนต์รัก           หาบุญมา      
๒.เด็กชายเอกลักษณ์      ทองราช        
๓.เด็กหญิงมินตรา          พระลิต         
๔.เด็กหญิงอังคณา          นุสนทรา      
๕.เด็กชายสุจินดา            นาเจริญ       
๖.เด็กชายจิรกฤต             ปะสาวะนัง  
๗.เด็กหญิงสุริฉาย           ประวันเณย์      
๘.เด็กชายจิรายุทธ           จำเริญขวัญ 
๙.เด็กชายอาทิตย์              สังสีราช       
๑๐.เด็กชายณัฐกานณ์       สิงห์สถิต
ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน  นาย จำรัส    เจริญนนท์
โรงเรียน                     บ้านโสกแดง  อำเภอแกดำ  จังหวัดมหาสารคาม
ปีการศึกษา                 ๒๕๕๒

บทคัดย่อ
            โครงงานการงานอาชีพเรื่อง เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเรื่องเกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ  เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวันและสอดคล้องกับแนวพระราดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  โดยคณะผู้จัดทำได้ออกศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต  และศึกษาสัมภาษณ์จากชาวบ้าน  จากชาวบ้านชุมชนใกล้เคียงที่ปลูกพืชผักสวนครัว  คณะผู้จัดทำได้ความรู้เรื่องเกษตรต่าง ๆแล้ว  ก็มีแนวความคิดจัดทำขึ้นเป็นโครงงาน  เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  มีความรู้เรื่องเกษตรต่าง ๆ  และเมื่อได้ความรู้แล้วก็สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้  เมื่อนำไปประยุกต์ใช้ก็ทำให้เกิด ความพอเพียง พอมี พอกิน
ผลการศึกษาโครงงาน  โครงงานพบว่ามีเกษตรต่าง ๆหลายประเภททั้งจากอินเทอร์เน็ตและจากการสัมภาษณ์ชุมชนใกล้เคียง  เช่น  ผักกาด ผักหอม  เป็นต้น  เราสามารถนำมาปลูกและประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจพอเพียงได้
โดยสรุป  โครงงานเรื่องเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำรัส  เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำมาใช้เพื่ออาหาร  และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่  ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ชาวบ้านชุมชนใกล้เคียง   เพื่อประยุกต์ใช้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
      

กิตติกรรมประกาศ
            การศึกษาโครงงานเรื่องนี้สำเร็จ  ได้ด้วยความช่วยเหลือให้คำปรึกษาจาก  คุณครู  จำรัส      เจริญนนท์  ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ  ที่ได้ให้ความกรุณาชี้แนะแนวทางและการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องของโครงงานจนสำเร็จด้วยดี  คณะผู้ศึกษาจึงขอกราบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง
            ขอขอบพระคุณผู้ผู้อำนวยการโรงเรียน  คณะครูโรงเรียนบ้านโสกแดง  ที่อนุเคราะห์และอำนวยความสะดวกแหล่งค้นคว้าข้อมูล
            ขอขอบพระคุณเพื่อนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  ที่ให้กำลังใจด้วยดีเสมอมา
            ขอขอบพระคุณคุณพ่อ  คุณแม่และญาติทุกคนของคณะผู้ศึกษา  ที่คอยเป็นกำลังใจอันสำคัญยิ่งให้แก่คณะผู้ศึกษาค้นคว้าจนประสบผลสำเร็จ
            คุณค่าและประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้  คณะผู้ศึกษาค้นคว้าขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณบิดา  มารดาบูรพาจารย์  และผู้มีพระคุณทุกท่าน
                                                                                                                                   
                                                                                                            คณะผู้จัดทำ

  
บทที่  ๑
บทนำ

ที่มาและความสำคัญ
            เนื่องด้วยคณะผู้ศึกษาไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ  มีแนวความคิดจัดทำโครงงานการงานอาชีพ  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  อยากมีความรู้เรื่องเกษตรต่าง ๆ  เพื่อประยุกต์ใช้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เพื่อที่จะได้ออก  สัมภาษณ์  ลงมือปฏิบัติจริง  และได้ศึกษาค้นค้าหาความรู้เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส ด้วยตนเอง  และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้ความรู้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เช่น  บ้านหนองไผ่  บ้านไผ่ล้อม  บ้านโสกแดง  บ้านโนนสะพัง  และมีควาเชี่ยวชาญเรื่องเกษตรต่าง  ๆ  มาก ๆ  และมีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติจริงและสามารถสอบเรื่องเกษตร  ได้ผลสัมฤทธิ์ ในระดับดี ในภาคเรียนต่อ  ๆมา

            วิชาการงานอาชีพทุกคนต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับเกษตรต่าง ๆ  การศึกษาโครงงาน  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  พระราชดำรัส  จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าต้องการรู้จักเรื่องเกษตรต่าง  ๆ ของพืชผักต่าง ๆ
เช่น ผักกาด  ผักหอม  เป็นต้น  ได้ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มาก

            จากข้อความดังกล่าว  คณะผู้ศึกษาจึงทำโครงงาน  เรื่องเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำรัส ขึ้น

วัตถุประสงค์
๑.     เพื่อศึกษา สัมภาษณ์  เกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำรัส  จากชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  และจาอินเทอร์เน็ต
๒.   เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ มีความรู้เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส
๓.    เพื่อที่จะได้ลงมือปฏิบัติจริง
สมมุติฐานการศึกษาค้นคว้า
            คณะผู้จัดทำไม่รู้เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัสมากพอ และไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติจริง

ความมุ่งหมายของการศึกษา
            เพื่อรวบรวมข้อมูล  เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  จัดทำขึ้นเป็นโครงงานการงานอาชีพ

ความสำคัญของการศึกษา
            ทำให้ทราบเรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตาแนวพระราชดำรัส  รู้เรื่องเกษตรต่าง  ๆ มากมาย

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
            การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาจากอินเทอร์เน็ต  และสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เช่น  บ้านหนองไผ่  บ้านไผ่ล้อม

นิยามศัพท์เฉพาะ
            เกษตร  หมายถึง  ที่ดิน , ทุ่ง , นา , ไร่  เช่น  พุทธเกษตร
            พอเพียง  หมายถึง  ได้เท่าที่กะไว้  เช่น  ได้เท่านี้ก็พอแล้ว
            พระราชดำรัส  หมายถึง  คำสั่งสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
            ศึกษา  หมายถึง  การเล่าเรียน ,  ฝึกฝน , และอบรม
            ค้นคว้า  หมายถึง  ข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา ,  เสาะหาเอามา
           
บทที่  ๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เอกสารที่สารที่เกี่ยวข้อง
            การศึกษาครั้งนี้  คณะผู้ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวของเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาโครงงาน  ดังหัวข้อต่อไปนี้

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

อินเทอร์เน็ต  http://www.goole/. COM   ได้แก่  ได้รู้จักวิธีปลูกพืชผักสวนครัวต่าง  ๆ  คือ  ผักกาด  ผักหอม  ผักซี  ผักคะน้า  ผักกวางตุ้ง  พริก  กะหล่ำปลี  ผักกาดขาว  ผักบุ้ง

หนังสือกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชัน ม. ๒   ได้แก่  ความรู้เพิ่มเติม  เรื่อง เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ตัวอย่างแบบ โครงงานภาษาไทย  ได้แก่  บทคัดย่อ  กิตติกรรมประกาศ  ที่มาและความสำคัญ  วิธีดำเนินงาน

หนังสือเสริมความรู้  เรื่อง  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ได้แก่  ความรู้  เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่ามีความเป็นมาแบบใด  มีแนวปฏิบัติแบบใด  ประยุกต์ได้แบบใด

บทที่  ๓
วิธีดำเนินงาน

วิธีดำเนินงาน


ลำดับขั้นตอนการศึกษาระยะเวลาดำเนินการ
๑.กำหนดปัญหา๑๐  พ.ย  ๕๒
๒.ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส๑๑  พ.ย  ๕๒
๓.รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการ  สัมภาษณ์  ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เช่น  บ้านหนองไผ่  บ้านไผ่ล้อม  เป็นต้น๑๓  พ.ย  ๕๒
๔.ศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต๑๕  พ.ย  ๕๒
๕.รวบรวมข้อมูลที่ได้๑๖  พ.ย   ๕๒
๖.จัดทำรูปเล่มรายงานขึ้น  เพื่อออกเผยแพร่ให้กับนักเรียนชั้น ม. ๒  และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง๑๗  พ.ย  ๕๒
๗.ออกเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าโครง๑๙  พ.ย  ๕๒
๘.นำความรู้ที่ได้มา  จัดทำขึ้นผังโครงงาน๒๒  พ.ย  ๕๒
๙.ฝึกซ้อมการนำเสนอโครงงาน  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส๒๓  พ.ย  ๕๒
๑๐.นำเสนอโครงงาน๓๐  พ.ย  ๕๒


บทที่  ๔
ผลการศึกษาค้นคว้า

ผลการศึกษาค้นคว้า
            ผลการศึกษาค้นคว้า  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  จากการ  สัมภาษณ์ ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  และจากอินเทอร์เน็ต  ปรากฏการศึกษา  ดังต่อไปนี้

บทที่  ๕
สรุปผล  อภิปรายผล  ประโยชน์ที่ได้รับ และข้อเสนอแนะ

            การศึกษาโครงงาน  เรื่อง เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  สรุปผลได้
ดังนี้

สรุปผล
            จากการศึกษาและสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  ได้ศึกษาพืชผักต่าง  ๆ  จำนวน  ๙  ชนิด  คือ ผักกาด  ผักหอม  ผักซี  ผักคะน้า  พริก  กะหล่ำปลี  ผักกวางตุ้งผักบุ้ง  ผักกาดขาว  ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการปลูกพืชผักต่าง  ๆ  และอื่น  ๆ  ผู้ศึกษาจึงได้นำผลการเรียนรู้ออกเผยแพร่ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  อ.แกดำ  จ.มหาสารคาม  และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง  ได้นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันและสามารถปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒ ทดสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ  ได้ผลสัมฤทธิ์ในระดับดี

อภิปรายผล 
            จากการศึกษา  เรื่องเกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส  ทำให้รู้ถึง  ลักษณะการปลูกพืชผักต่าง  ๆ  มีดังนี้
๑. ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักกาด
๒.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักหอม
๓.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักซี
๔.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักคะน้า
๕.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก พริก
๖.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก  กะหล่ำปลี
๗.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักกวางตุ้ง
๘.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก ผักกาดขาว
๙.ทำให้รู้ถึงลักษณะการปลูก  ผักบุ้ง

ประโยชน์ที่ได้รับ
๑.     รู้และเข้าใจ  เรื่อง  เกษตรพอเพียง  ตามแนวพระราชดำรัส
๒.   ได้ออกเผยแพร่ให้ความรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง
๓.    นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒  สามารถนำความรู้ที่ได้จากการจัดทำโครงงานนำไปปฏิบัติจริงที่บ้าน  และที่โรงเรียน
๔.    ได้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
๕.    ได้ปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2.โครงงานอาชีพ การทำข้าวต้มมัด - Presentation Transcript

  1. โครงงานอาชีพการแปรรูอาหารจากกล้วย
    การทำข้าวต้มมัด
    โดย...
    นางรัศมีแข แสนมาโนช
  2. สาระสำคัญ
    ข้าวต้มมัด ข้าวต้มผัด ข้าวต้มกล้วย ทั้งสามชื่อนี้ คืออาหารหวานอย่างเดียวกัน แต่ชื่อที่เรียกอาจจะแล้วแต่ท้องถิ่นที่ตั้งคำจำกัดความ และส่วนผสม ของเจ้าของขนม ที่ทำด้วยข้าวเหนียวห่อด้วยใบตองแล้วมัด
  3. จุดประสงค์การเรียนรู้
    1
    1. บอกวัสดุการทำข้าวต้มมัดได้
    2
    2. บอกอุปกรณ์สำหรับการทำข้าวต้มมัดได้
    4
    3
    3. อธิบายขั้นตอนการจัดทำข้าวต้มมัดได้ถูกต้อง
    4. จัดทำข้าวต้มมัดไว้รับประทานและจำหน่ายได้ด้วยตนเอง
  4. แบบทดสอบก่อนเรียน
    คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวโดยใช้เมาส์คลิก
    ที่หน้าข้อที่คิดว่าถูกต้อง
    01
    1
    1. ข้อใดกล่าวถูกต้องในการใช้ใบตองห่อข้าวต้มมัด
    ก. ใช้ใบตองกล้วยที่ผ่านการผึ่งแดด
    ข. ใช้ใบตองกล้วยที่ตัดมาใหม่ ๆ
    ค. ใช้ใบตองกล้วยแก่จัด
    ง. ใช้ใบตองกล้วยแห้ง
    • Click to add Text
    • Click to add Text
    • Click to add Text
    • Click to add Text
    • แบบทดสอบก่อนเรียน
      02
      1
      2. ข้าวที่นิยมนำมาใช้ทำข้าวต้มมัดคือ
      ก. ข้าวเจ้า
      ข. ข้าวเหนียว
      ค. ข้าวเม่า
      ง. ข้าวสุก
      • Click to add Text
      • Click to add Text
      • Click to add Text
      • Click to add Text
      • แบบทดสอบก่อนเรียน
        03
        1
        3. ข้าวชนิดใดเวลาผัดแล้วต้องใส่กะทิมากกว่าธรรมดาข้าวจึงจะสุก
        ก. ข้าวสุก
        ข. ข้าวเม่า
        ค. ข้าวเหนียวค้างปี
        ง. ข้าวเจ้าค้างปี
        • Click to add Text
        • Click to add Text
        • Click to add Text
        • Click to add Text
        • แบบทดสอบก่อนเรียน
          04
          1
          4. ข้อปฏิบัติก่อนที่จะนำข้าวมาห่อทำขาวต้มมัดทำอย่างไร
          ก. แช่ข้าวก่อน
          ข. ใช้ข้าวสาร
          ค. ตำข้าวก่อน
          ง. นึ่งข้าวก่อน
          • Click to add Text
          • Click to add Text
          • Click to add Text
          • Click to add Text
          • แบบทดสอบก่อนเรียน
            05
            1
            5. ข้าวต้มมัดนิยมใส่ไส้ของข้าวต้มมัดด้วยอะไร
            ก. เนื้อ
            ข. นม
            ค. ไข่
            ง. ถั่ว
            • Click to add Text
            • Click to add Text
            • Click to add Text
            • Click to add Text
            • การทำข้าวต้มมัด
              การทำข้าวต้มมัด
              ข้าวต้มมัด เมื่อเรานำใบตองที่ห่อข้าวต้มจะต้องมีลักษณะพิเศษคือต้องเป็นใบตองกล้วยสวนที่ใบอ่อน ๆ และช่วงสั้น ๆ ต้องนำมาค้างคืนไว้สักคืนให้ใบตองนิ่ม
              ห่อออกมาแล้วจะสวยงามกล้วยที่เอามาทำก็ต้องสุกงอมมาทำเป็นไส้ข้าวต้มมัดเมื่อต้มเสร็จแล้วจะเป็นสีแดงและยังมีไส้อย่างอื่นอีก เช่น เผือก ถั่ว ข้าวที่นำมาห่อทำเป็นข้าวต้มมัดนั้นใช้ข้าวเหนียวไม่ต้องแช่น้ำถ้าเป็นข้าวต้มผัดข้าวเหนียวค้างปีจะต้องใส่กะทิมากหน่อยข้าวจึงจะสุก เมื่อเรานำข้าวเหนียวสดที่เตรียมมาวางลงบนใบตอง
              ที่เตรียมไว้นำกล้วย เผือก ถั่ว มาวางทำเป็นไส้เสร็จแล้วก็ห่อตามวิธีการให้แน่น ข้าวต้มมัดให้เอาห่อข้าวต้ม 2 ห่อมาประกบกันแล้วมัดด้วยเชือกกล้วยแล้วนำไปต้มต่อไป
              ส่วนข้าวต้มผัดเมื่อห่อเสร็จแล้วก็จัดวางเรียงเข้าหม้อนึ่งแล้วนำไปนึ่งต่อไปดังมีนำเสนอและฝึกปฏิบัติดังต่อไปนี้
              75%
            • อุปกรณ์และวัสดุ
              กะละมัง 4. มีดหั่น
              2. ใบตองกล้วย 5. เตาไฟ
              3. ลังถึง 6. กระทะ
              7. ตอกไม้ไผ่ หรือเชือก
            • ส่วนผสม
              ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม หัวกะทิ 3 ถ้วยตวง เกลือ 3 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 1 3/4 ถ้วยตวง กล้วยน้ำว้า 1 หวี ถั่วดำต้มแล้ว 300 กรัม
              ไส้เผือกกวน เผือกนึ่งแล้วบด 1 กิโลกรัม
              น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง
              กะทิข้น ๆ 1 ถ้วยตวง
              ครื่องห่อ ตอก, ใบตอง
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              แช่ข้าวเหนียวในน้ำอย่างน้อย 3 ชั่วโมงผสมกะทิ เกลือคนให้เข้ากัน ตั้งไฟพอเดือด ใส่น้ำตาลทรายลงกวนให้เข้ากัน จนกระทั่งพอเริ่มแห้ง ยกลงข้าวต้มมัด นำใบตองกล้วย ข้าวเหนียว มาเตรียมห่อ ส่วนข้าวต้มผัด ก็เตรียมผัดข้าวเพื่อจะนำมาห่อ
              01
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              ฉีกใบตอง ขนาด 8 นิ้ว , 7นิ้ว สองขนาด
              วางซ้อนกัน หยิบข้าวเหนียวที่ผัดได้ที่แล้ว
              ใส่กล้วยผ่าตามยาวครึ่งลูก หรือไส้เผือกกวน
              วางข้าวเหนียวทับไส้ให้มิดบางๆ ใส่ถั่วดำ
              ห่อข้าวต้มให้ สวยงาม มัดด้วยตอกหรือเชือก
              ให้แน่น ประกบคู่มัดเป็นสองช่วงหัวท้าย
              02
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              3. นึ่งข้าวต้มที่ห่อแล้วประมาณ 45 นาที หรือ 1 ชั่วโมง จนข้าวเหนียวสุก ดังภาพ (การทำเผือกกวน ผสมส่วนผสมทั้งหมดรวมกันตั้งไฟกวนจนแห้งปั้นได้ นำไปใส่ไส้
              ข้าวเหนียว)
              03
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              หมายเหตุ
              ข้าวเหนียวจะต้องแช่น้ำไว้สักพักให้ข้าวเหนียวนิ่มต้องลด กะทิลง และ นึ่งในระยะสั้นกว่า ข้าวเหนียวที่ไม่ได้แช่น้ำให้นิ่ม แต่ส่วนใหญ่ ข้าวต้มมัดจะไม่แช่น้ำ แต่บางคน อาจจะมีสูตรที่แตกต่างออกไป
              ก็คงแล้วแต่ท้องถิ่นนั้นๆ ก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ทางแถบชาวสวน ชาวเมืองมุกดาหาร จะไม่ค่อยนำข้าวเหนียวไปแช่น้ำให้นิ่ม เหมือนกับที่เรามูนข้าวเหนียว
            • ขั้นตอนและวิธีการทำ
              วิธีผัดข้าว นำกะทิ มาใส่น้ำตาล ใส่เกลือ ชิมรสให้เข้มข้นไว้ แล้วก็คนให้ละลายนำไปตั้งไฟให้เดือด พอกะทิ เดือดปุดๆ (ไม่ใช่เดือดพล่าน) ก็เอาข้าวเหนียวใส่ไป แล้วก็กวนไปไฟอ่อนๆ จนกว่า กะทิ จะแห้ง แล้วก็ยกลงตั้งทิ้งไว้ให้ ข้าวเย็น เสียก่อน ค่อยนำมาห่อ แล้วก็นำไปนึ่ง ให้สุก
            • ข้าวต้มมัดที่เสร็จสมบูรณ์
            • กิจกรรมที่ 1
              คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามจากหัวข้อต่อไปนี้
              01
              บอกเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำข้าวต้มมัดได้แก่
              .............................................................................................................
              ............................................................................................................. .............................................................................................................
              .............................................................................................................
            • กิจกรรมที่ 1
              คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามจากหัวข้อต่อไปนี้
              02
              บอกหลักการในการทำข้าวต้มมัดได้ .............................................................................................................
              ............................................................................................................. .............................................................................................................
              .............................................................................................................
            • กิจกรรมที่ 1
              คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามจากหัวข้อต่อไปนี้
              03
              บอกขั้นตอนในการทำข้าวต้มมัดได้แก่
              .............................................................................................................
              ............................................................................................................. .............................................................................................................
              .............................................................................................................
            • แบบทดสอบหลังเรียน
              คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียวโดยใช้เมาส์คลิก
              ที่หน้าข้อที่คิดว่าถูกต้อง
              01
              1
              1. ข้อใดกล่าวถูกต้องในการใช้ใบตองห่อข้าวต้มมัด
              ก. ใช้ใบตองกล้วยที่ผ่านการผึ่งแดด
              ข. ใช้ใบตองกล้วยที่ตัดมาใหม่ ๆ
              ค. ใช้ใบตองกล้วยแก่จัด
              ง. ใช้ใบตองกล้วยแห้ง
              • Click to add Text
              • Click to add Text
              • Click to add Text
              • Click to add Text
              • แบบทดสอบหลังเรียน
                02
                1
                2. ข้าวที่นิยมนำมาใช้ทำข้าวต้มมัดคือ
                ก. ข้าวเจ้า
                ข. ข้าวเหนียว
                ค. ข้าวเม่า
                ง. ข้าวสุก
                • Click to add Text
                • Click to add Text
                • Click to add Text
                • Click to add Text
                • แบบทดสอบหลังเรียน
                  03
                  1
                  3. ข้าวชนิดใดเวลาผัดแล้วต้องใส่กะทิมากกว่าธรรมดาข้าวจึงจะสุก
                  ก. ข้าวสุก
                  ข. ข้าวเม่า
                  ค. ข้าวเหนียวค้างปี
                  ง. ข้าวเจ้าค้างปี
                  • Click to add Text
                  • Click to add Text
                  • Click to add Text
                  • Click to add Text
                  • แบบทดสอบหลังเรียน
                    04
                    1
                    4. ข้อปฏิบัติก่อนที่จะนำข้าวมาห่อทำขาวต้มมัดทำอย่างไร
                    ก. แช่ข้าวก่อน
                    ข. ใช้ข้าวสาร
                    ค. ตำข้าวก่อน
                    ง. นึ่งข้าวก่อน
                    • Click to add Text
                    • Click to add Text
                    • Click to add Text
                    • Click to add Text
                    • แบบทดสอบหลังเรียน
                      05
                      1
                      5. ข้าวต้มมัดนิยมใส่ไส้ของข้าวต้มมัดด้วยอะไร
                      ก. เนื้อ
                      ข. นม
                      ค. ไข่
                      ง. ถั่ว
                      • Click to add Text
                      • Click to add Text
                      • Click to add Text
                      • Click to add Text
                      • เอกสารอ้างอิง
                        กรมอาชีวศึกษา. หลักการถนอมผลผลิตทางการเกษตร. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2523.
                        วณิชา เพชรสุวรรณ. โครงงานอาหารและโภชนาการ. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, ม.ป.ป.
                        วินิดา ฆารไสว. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องถนอมอาหาร
                        กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การศึกษา
                        ค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มาหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2548.
                        สุเพียร สารลึก. การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องถนอมอาหาร และ
                        การแปรรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
                        การศึกษาค้นคว้า อิสระ กศ.ม. มาหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.
                        • Click to add Text
                        • Click to add Text
                        • Click to add Text
                        • Click to add Text
                        • **จัดทำโดย **
                          รัศมีแข แสนมาโนช
                          ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านชาด
                          สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
                        • ขอขอบคุณ
                          ผู้อำนวยการ
                          คณะครู และนักเรียน
                          โรงเรียนบ้านชาดทุกคน
                          การทำข้าวต้มมัด
                          จัดทำโดย...
                          รัศมีแข แสนมาโนช
                          ครูชำนาญการพิเศษ

                        3.โครงงานอาชีพ หมายถึง กิจกรรมศึกษาวิชาการงานที่ส่งเสริมสนับสนุน ให้ผู้เรียนได้เลือกศึกษาค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงาน ตามที่ตนเองมีความถนัด มีความพร้อม และสนใจ แล้วลงมือปฏิบัติให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ โดยมีรายละเอียดของงานที่จะจัดทำไว้ล่วงหน้า เป็นขั้นตอนพร้อมทั้งคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้น ทั้งที่โดยได้รับคำแนะนำจากผู้รู้ และครู-อาจารย์ ที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของกลุ่ม 
                                  ความสำคัญของโครงงานอาชีพ ในส่วนของการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรม
                        ตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ดังนี้ คือ                1. ด้านผู้เรียน ก่อให้เกิดคุณค่าต่างๆ ได้แก่ ช่วยสร้างความหวังใหม่ในการริเริ่มงาน สร้างเสริมประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง ได้มีโอกาสทดสอบความถนัดของตนเอง ก่อให้เกิดความรักความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีภายในกลุ่ม พร้อมทั้งเกิดความรู้ทางวิชาการที่กว้างขวางขึ้นและเกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จของงาน                 2. ด้านสถาบันและครูอาจารย์ที่ปรึกษากลุ่ม ก่อให้เกิดคุณค่าทางการประสานงาน โดยเกิดความเข้าใจที่ตรงกันว่าการเรียนการสอนในปัจจุบันขึ้นอยู่กับการปฏิบัติจริงในโครงงานของผู้เรียนมากกว่าที่จะเรียนอยู่ในห้องเรียนเท่านั้น                 3. ด้านชุมชน / ท้องถิ่น ก่อให้เกิดคุณค่าทางการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ชุมชน อีกทั้งชุมชนได้มีส่วนร่วมในการขยายผลทางความรู้ความสามารถที่มีอยู่ ให้แก่ผู้เรียนรุ่นต่อไป โดยสร้างนิสัยรักการทำงานเกิดงานอาชีพที่หลากหลายและมีการพัฒนาอาชีพในชุมชนด้วย
                        การเขียนโครงงาน

                        ส่วนประกอบและวิธีเขียนโครงงาน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                                        1. ชื่อโครงงาน ควรตั้งชื่อโครงงานอาชีพให้สื่อความหมายได้ชัดเจน ครอบคลุมความหมายของกิจกรรมอาชีพที่ทำให้ชัดเจนว่าทำอะไร ไม่ควรตั้งชื่อโครงงานที่มีความหมายกว้างเกินไปตัวอย่างเช่น โครงงานปลูกมะละกอ โครงงานทำโคมไฟฟ้า
                                        2. ชื่อผู้ดำเนินโครงงาน ระบุชื่อผู้ดำเนินโครงงานในกรณีที่เป็นงานกลุ่มต้องระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน และการลงทุนของแต่ละคนไว้ให้ชัดเจน ซึ่งทั้งนี้ควรพิจารณาความเหมาะสมในด้านความสามารถ โอกาสในการทำงานและกำลังทุนทรัพย์สิน ของแต่ละบุคคล
                                        3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
                                        4. หลักการและเหตุผลหรือความสำคัญของโครงงาน ควรกล่าวถึงสภาพชุมชนและความต้องการของตลาดที่เกี่ยวข้องกับอาชีพตามที่ได้ศึกษามา และอธิบายว่าโครงงานนี้จะสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างไร
                                        5. วัตถุประสงค์ จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่า โครงงานอาชีพนี้ ผู้เรียนจะทำอะไรโดยเขียนให้เห็นว่ากิจกรรมหรือพฤติกรรมที่จะดำเนินการมีอะไรบ้าง หากมีวัตถุประสงค์หลายประการก็ควรเขียนเป็นข้อ ๆ ตามลำดับความสำคัญ
                                        6. เป้าหมาย กำหนดเป้าหมายของผลผลิตในช่วงเวลาให้ชัดเจนคือ อะไร มีปริมาณเท่าใดและคุณภาพเป็นอย่างไร
                                        7. ระยะเวลา กำหนดระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการดำเนินโครงงาน
                                        8. งบประมาณ จัดทำรายละเอียดรายจ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินโครงงาน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งประกอบด้วยตัววัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เป็นต้น
                                        9. ขั้นตอนวิธีดำเนินงาน เขียนเป็นรายละเอียดขั้นตอนของการทำงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงงานโดยเขียนเป็นแผนปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อ กิจกรรม ระยะเวลา สถานศึกษา ทรัพยากร/ปัจจัยเป็นต้น รายละเอียดดังกล่าวจะทำให้ผู้ที่ปรึกษาหรือผู้ดำเนินงานติดตามกำกับงานได้อย่างมีระบบแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
                                        8. การติดตามและการประเมินผล เป็นวิธีการหรือเทคนิคในการดูแลและควบคุมการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ต้องบอกให้ชัดเจนว่าก่อนเริ่มทำโครงงาน ระหว่างทำโครงงานและหลังการทำโครงงาน จะมีการติดตามและประเมินผลอย่างไร
                                        9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ให้ระบุผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเสร็จสิ้นโครงงาน เป็นผลที่ได้รับโดยตรงและผลพลอยได้หรือผลกระทบจากโครงงานเป็นผลในด้านดีที่คาดว่าจะได้รับจะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์และเป้าหมาย

                        วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

                        เกษตรทฤษฎีใหม่

                        ขอขอบคุณ www.guideubon.com
                            
                                การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นทฤษฎีแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตรที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร โดยการแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งขุดสระกักเก็บน้ำ จำนวน 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สอง ปลูกข้าว จำนวน 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สาม ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นและส่วนที่สี่ เป็นพื้นที่ที่ใช้สร้างสิ่งปลูกสร้างเช่น ที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ฉาง จำนวน 10% ของพื้นที่ จำนวนสัดส่วนของพื้นที่นี้ทั้งหมดสามารถปรับเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพพื้นที่แต่ละแห่ง เช่นครอบครัวหนึ่งมีสมาชิกจำนวน 4 คน พื้นที่มีแหล่งน้ำใช้ได้ตลอดทั้งปี แต่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำก็ควรปรับลดพื้นที่ขุดสระ และเพิ่มพื้นที่นาข้าวเพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอตลอดทั้งปี

                          พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง จำนวน 3.6 ไร่ ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 2 สระ สามารถกักเก็บน้ำ
                        ได้รวม 10,455 ลูกบาศก์เมตร เพียงพอต่อการนำน้ำมาใช้ในการทำการเกษตรได้ทั้งปี
                        แต่การ
                        ผันน้ำมาใช้นั้น ยังคงต้องใช้เครื่องจักรกลในการสูบน้ำมาใช้ ทำให้สูญเสียพลังงาน
                        เชื้อเพลิง
                        จำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ถ้าสามารถลดการใช้พลังงานลงได้หรือ 
                        หาพลังงาน   เชื้อเพลิงอื่นทดแทน หรือมีการวางแผนการใช้น้ำ เช่น หากพื้นที่มีระดับที่ต่างกันมาก สามารถวางท่อนำน้ำออกมาใช้โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำและน้ำมัน
                        เป็นการจัดการทำให้
                        ต้นทุนการเกษตรลดลงได้ในระยะยาว
                         
                                พื้นที่ส่วนที่สอง 3.6 ไร่ (30%) ใช้ปลูกข้าว ดำเนินการในปี 2547 เตรียมดิน หว่านกล้าและปักดำโดยใช้ข้าวจ้าวหอมมะลิ 105 จำนวน 40 กิโลกรัม ทำการกำจัดวัชพืชในนาข้าว โดยการถอน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16 – 20 – 0 จำนวน 30 กิโลกรัมและปุ๋ยเคมีสูตร 40 – 0 – 0 จำนวน 30 กิโลกรัม
                              พื้นที่ส่วนที่สาม 3.6 ไร่ (30%) ปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยแบ่งพื้นที่ปลูกดังนี้
                                                     
                        1. พื้นที่จำนวน 2 ไร่ ปลูกมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ จำนวน 50 ต้น
                        2. พื้นที่จำนวน 0.5 ไร่ ปลูกกล้วยน้ำหว้า จำนวน 60 ต้น
                        3. พื้นที่จำนวน 0.5 ไร่ ปลูกพืชผัก จำนวน 20 แปลง
                        4. พื้นที่จำนวน 0.6 ไร่ ปลูกไม้ใช้สอย อาทิเช่น
                        ต้นสัก จำนวน 30 ต้น
                        ต้นยูคาลิปตัส จำนวน 80 ต้น
                        ต้นไผ่รวก จำนวน 10 ต้น
                        ต้นไผ่ตง จำนวน 5 ต้น
                        ต้นหวาย จำนวน 30 ต้น
                            
                           พื้นที่ส่วนที่สี่ 1.2 ไร่ (10%) เป็นพื้นที่สร้างที่อยู่อาศัยและคอกสัตว์
                        1. สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ จำนวน 1 หลังขนาด 3*4 เมตร เลี้ยงไก่แล้ว 3 รุ่น จำนวน 200 ตัว คัดไว้เป็นพ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัวและแม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว

                        2. สร้างโรงเรือนเลี้ยงเป็ดจำนวน 1 หลัง ขนาด 3*4 เมตร ใช้เลี้ยงเป็ด 3 รุ่น จำนวน 129 ตัว คัดไว้เป็นพ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัวและแม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว

                        3. สร้างโรงเรือนสุกร จำนวน 1 หลัง ขนาด 3.5*19.5 เมตร ดำเนินการเลี้ยงสุกรจำนวน 20 ตัว

                        4. สร้างศาลาถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 1 หลัง ขนาด 3.5*10.5 เมตร ใช้เป็นพื้นที่แสดงและถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป
                            

                        เศรษฐกิจพอเพียง

                                     เศรษฐกิจแบบพอเพียง
                        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้
                        "….ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้…"
                                  ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ  "เศรษฐกิจพอเพียง"  ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน  เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป  จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่  วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้   ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง"  จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ
                                  ในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ   การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคม  ตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน  เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขาย สะสมทุน  ฯลฯ  บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้  เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาอย่างมั่นคงทั้งในด้านกำลังทุนและตลาดภายในประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ภายในชาติ และทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก
                                  เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือ วิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ “จิตวิญญาณ” คือ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า”

                                  ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลำดับความสำคัญของ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จำกัดซึ่งไร้ขอบเขต ถ้าไม่สามารถควบคุมได้การใช้ทรัพยากรอย่างทำลายล้างจะรวดเร็วขึ้นและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข (Maximization of Satisfaction) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกำไร (Our loss is our gain) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จำกัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง “คุณค่า” จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทำลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น “ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด” และขจัดความสำคัญของ “เงิน” ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกำหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ (Demonstration Effects) จะไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย จะทำให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน (Over Consumption) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน

                                  การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่ร่ำรวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทำให้ร่ำรวยมากขึ้น ในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทำให้เกิดความเข้มแข็ง และความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สำคัญคือการบริโภคนั้นจะทำให้เกิดความรู้ที่จะอยู่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทำ เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ

                                  ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสำหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ “บุคคล” กับ “ระบบ” และปรับความต้องการที่ไม่จำกัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกำไร และอาศัยความร่วมมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบสังคม

                                  การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดำริในเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคำพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ตินณสูลานนท์ ที่ว่า “…ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร” ในการผลิตนั้นจะต้องทำด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้ จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทำโครงการแต่ไม่ได้คำนึงว่าปัจจัยต่าง ๆ ไม่ครบ ปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสำคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสำหรับใช้ในโรงงานั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนำมาจากระยะไกล หรือนำเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นำเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะต่ำลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทำให้ราคาตก หรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาด ขายได้ในราคาที่ลดลง ทำให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน


                                  การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้

                                  1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่าย
                                  2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
                                  3. ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้

                                  การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” การผลิตนั้นต้องยึดมั่นในเรื่องของ “คุณค่า” ให้มากกว่า “มูลค่า” ดังพระราชดำรัส ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า

                                  “…บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร …ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด …ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้…”

                                  การจัดสรรทรัพยากรมาใช้เพื่อการผลิตที่คำนึงถึง “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตำรา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองกาลไกลและมีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้

                                  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ประชาชนยอมรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ กล่าวคือ

                                  ทรงสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้รับรู้ (Awareness) ในทุกคราเมื่อ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนในทุกภูมิภาคต่าง ๆ จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิ่งที่ควรรู้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยป้องกันดินพังทลาย และใช้ปุ๋ยธรรมชาติจะช่วยประหยัดและบำรุงดิน การแก้ไขดินเปรี้ยวในภาคใต้สามารถกระทำได้ การ ตัดไม้ทำลายป่าจะทำให้ฝนแล้ง เป็นต้น ตัวอย่างพระราชดำรัสที่เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน ได้แก่

                                  “….ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาไว้ ไม่ทำให้ประเทศไทยเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกัน ทำได้….”

                                  ทรงสร้างความสนใจแก่ประชาชน (Interest) หลายท่านคงได้ยินหรือรับฟัง โครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีนามเรียกขานแปลกหู ชวนฉงน น่าสนใจติดตามอยู่เสมอ เช่น โครงการแก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการเส้นทางเกลือ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย หรือโครงการน้ำสามรส ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น ล้วนเชิญชวนให้ ติดตามอย่างใกล้ชิด แต่พระองค์ก็จะมีพระราชาธิบายแต่ละโครงการอย่างละเอียด เป็นที่เข้าใจง่ายรวดเร็วแก่ประชาชนทั้งประเทศ

                                  ในประการต่อมา ทรงให้เวลาในการประเมินค่าหรือประเมินผล (Evaluate) ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร สามารถนำไปปฏิบัติได้ในส่วนของตนเองหรือไม่ ซึ่งยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง ที่ว่า
                                  “….ขอให้ถือว่าการงานที่จะทำนั้นต้องการเวลา เป็นงานที่มีผู้ดำเนินมาก่อนแล้ว ท่านเป็นผู้ที่จะเข้าไปเสริมกำลัง จึงต้องมีความอดทนที่จะเข้าไปร่วมมือกับผู้อื่น ต้องปรองดองกับเขาให้ได้ แม้เห็นว่ามีจุดหนึ่งจุดใดต้องแก้ไขปรับปรุงก็ต้องค่อยพยายามแก้ไขไปตามที่ถูกที่ควร….”

                                  ในขั้นทดลอง (Trial) เพื่อทดสอบว่างานในพระราชดำริที่ทรงแนะนำนั้นจะได้ผลหรือไม่ซึ่งในบางกรณีหากมีการทดลองไม่แน่ชัดก็ทรงมักจะมิให้เผยแพร่แก่ประชาชน หากมีผลการทดลองจนแน่พระราชหฤทัยแล้วจึงจะออกไปสู่สาธารณชนได้ เช่น ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำนั้น ได้มีการค้นคว้าหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้จนทั่วทั้งประเทศว่าดียิ่งจึงนำออกเผยแพร่แก่ประชาชน เป็นต้น

                                  ขั้นยอมรับ (Adoption) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เมื่อผ่านกระบวนการมาหลายขั้นตอน บ่ม เพาะ และมีการทดลองมาเป็นเวลานาน ตลอดจนทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสถานที่อื่น ๆ เป็นแหล่งสาธิตที่ประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาดูได้ถึงตัวอย่างแห่งความสำเร็จ ดังนั้น แนวพระราชดำริของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ราษฎรสามารถพิสูจน์ได้ว่าจะได้รับผลดีต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของตนได้อย่างไร

                                  แนวพระราชดำริทั้งหลายดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงถึงพระวิริยะอุตสาหะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระสติปัญญา ตรากตรำพระวรกาย เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาให้พสกนิกรทั้งหลายได้มีความร่มเย็นเป็นสุขสถาพรยั่งยืนนาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ได้พระราชทานแก่ปวงไทยตลอดเวลามากกว่า 50 ปี จึงกล่าวได้ว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์นั้นสมควรอย่งยิ่งที่ทวยราษฎรจักได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ตามที่ทรงแนะนำ สั่งสอน อบรมและวางแนวทางไว้เพื่อให้เกิดการอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนเช่นกัน โดยการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขึ้นตอนต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตาหลักวิชาการ เพื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริม ความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ จะก่อให้เกิดความยั่งยืนและจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคม สุดท้ายเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน

                        ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
                                  1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
                                  2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
                                  3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด
                                  " การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง "

                        "เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน"

                        วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

                        เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

                        เทคโนโลยีเพื่อการปฏิรูปการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                        เมื่อกล่าวถึงการปฏิรูปการเรียนรู้ นับเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา เพราะกระบวนการที่สำคัญที่สุดของการศึกษา คือ กระบวนการเรียนรู้ การสอนให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ จนเขาสามารถสรุปเป็นความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นได้ เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้น ความสำเร็จของการจัดการศึกษาอยู่ที่ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งผมคิดว่าเป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั่นเอง
                        การแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาที่หมักหมมมานานจำเป็นต้องใช้หลักการและวิธีการใหม่ๆ จึงจะแก้ไขได้สำเร็จ จากการศึกษาวิเคราะห์ของสำนักงานปฏิรูปการศึกษา (สปศ.) เกี่ยวกับปัญหาการจัดการศึกษาไทย ที่ผ่านมา จะพบปัญหาสำคัญ 6 เรื่อง สรุปได้ ดังต่อไป
                          1. ปัญหาด้านการบริหารจัดการศึกษา มีการบริหารแบบรวมอำนาจไว้ส่วนกลางมากเกินไป มีองค์กรที่มีภารกิจการทำงานที่ซ้ำซ้อน เกิดความล่าช้าในทางปฏิบัติ ขาดความเป็นเอกภาพ ขาดการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชน
                          2. ปัญหาด้านครู ไม่มีคนเก่งเข้ามาประกอบอาชีพครู ไม่ได้รับการส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพ ครูขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
                          3. ปัญหาด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ หลักสูตรระดับต่างๆ ไม่สอดคล้องกับชีวิตจริงในชุมชน และก้าวไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงทางบริบทของสังคม
                          4. ปัญหาด้านการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษา มีระบบการจัดสรรงบประมาณที่ด้อยประสิทธิภาพแม้ว่าจะได้รับงบประมาณจัดสรรมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านก็ตาม
                          5. ปัญหาด้านสื่อและเทคโนโลยี ปัจจุบัน แม้จะมีเทคโนโลยีต่างๆ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แต่สื่อต่างๆ กลับมีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่น้อยมากและไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
                          6. ปัญหาด้านระบบตรวจสอบและประเมินประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาเป็นเพียงการประเมินตามนโยบาย ขาดการนิเทศให้คำแนะนำเพื่อให้เกิดการพัฒนาในการดำเนินงาน
                        จากปัญหาต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นนั้น จึงได้เกิดเป็นพลังขับเคลื่อนทางสังคมครั้งสำคัญเพื่อผลักดันให้มีการปฏิรูปการศึกษาของไทยจากกลุ่มคนทุกฝ่ายที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาของชาติ บังเกิดเป็นกฎหมายการศึกษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างและพัฒนาการจัดการศึกษาของไทยภายใต้นัยแห่งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 นั่นคือ “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542” ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่ 19 สิงหาคม 2542 เป็นต้นมา
                        การใช้เทคโนโลยีเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
                        กระแสแห่งการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญของไทยในยุคแห่งความเป็นโลกาภิวัฒน์ (Globalization) โดยเฉพาะในด้านการจัดการศึกษาเพื่อการกำหนดยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ให้ก้าวทันสังคมโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วนั้น คือกระแสของ “การปฏิรูปการศึกษา (Educational Reform) นั่นเอง ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการปรับรื้อระบบบริหารจัดการด้านการศึกษาครั้งสำคัญของสังคมไทย เป็นยุทธศาสตร์ทางภูมิปัญญาเพื่อการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของระบบการศึกษาของชาติให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ทางสังคมที่หลากหลายและรุนแรง สามารถพัฒนาการศึกษาให้ก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกในปัจจุบันสื่อและเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับและทุกระบบของการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัยที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในหลายหมวดและหลายมาตราด้วยกัน และที่สำคัญ การปฏิรูปการศึกษานั้นต้องมุ่งเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญให้เกิดการพัฒนาตามศักยภาพความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละบุคคลในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวดที่ 9 ได้กล่าวถึงเรื่องเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (มาตรา 63-69) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของการใช้เทคโนโลยีเพื่อปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่มีความครอบคลุม กว้างขวาง และมีความเป็นเอกภาพ ทั้งการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐาน การจัดตั้งกองทุน การสร้างมาตรฐานทางเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการปรับใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุดกล่าวกันว่าการปฏิรูปเทคโนโลยีเพื่อการศึกษานั้นจะต้องเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างเป็นระบบขั้นตอนมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน ครอบคลุมกระบวนการจัดการศึกษาทั้งระบบ การปฏิรูปเทคโนโลยีการศึกษาทั้งระบบสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

                          จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นจะเห็นได้ว่า การปฏิรูปการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะพัฒนาระบบการศึกษาไทยให้ก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ โดยดำเนินงานตามที่กำหนดเป็นกฎหมายการศึกษาของชาติ ทั้งนี้ “เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา” จะเป็นศาสตร์สำคัญแขนงหนึ่งของการปฏิรูปที่จะช่วยปรับปรุง พัฒนา และยกระดับมาตรฐานการศึกษาของชาติให้บังเกิดคุณภาพและประสิทธิภาพได้ การปฏิรูปการศึกษาโดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นฐานสำคัญของการปรับเปลี่ยนต้องส่งผลโดยตรงไปสู่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการจัดการศึกษาต้องตระหนักและช่วยกันขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานให้ก้าวสู่เป้าหมายโดยรวมได้ในอนาคต โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                        1. การปฏิรูปความคิดของบุคลากร สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความคิดของผู้บริหาร ผู้ผลิตและเผยแพร่ ต้องได้รับการปฏิรูปความคิดเป็นเบื้องต้น เพราะบุคลากรเหล่านี่จะเป็นกลุ่มสำคัญของการนำเอาเทคโนโลยีไปสู่การปฏิบัติจริงในสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ หากบุคลากรไม่สนใจ ไม่ยอมรับเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลง เกิดทัศนคติเชิงลบแล้ว การปฏิรูปเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจะบังเกิดขึ้นได้ยากและขาดประสิทธิภาพ

                        2. การปฏิรูปการผลิต เนื่องจากเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเป็นเรื่องเกี่ยวกับสื่อวัสดุอุปกรณ์และโปรแกรมการเรียนรู้ต่างๆ ที่ถูกผลิตหรือสร้างขึ้นมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งจะต้องมีการสำรวจความต้องการของผู้ใช้เป็นเบื้องต้น เพื่อให้ผลผลิตที่ออกมาตรงกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย ใช้ประโยชน์ได้จริง มีกระบวนการผลิตที่สั้น กระชับ พร้อมทั้งพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือให้ทันสมัย ทำให้สื่อการศึกษามีทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการเรียนรู้

                        3. การปฏิรูปการเผยแพร่ ต้องมีการประชาสัมพันธ์และนำกลุ่มเป้าหมายให้รับรู้ข่าวสาระที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้ทั่วถึงและหลากหลาย เป็นระบบการเผยแพร่ที่เป็นระบบเปิด กลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปสามารถรับรู้จากสื่อได้โดยตรง กว้างขวาง และที่สำคัญ ต้องคำนึงถึงศักยภาพผู้ใช้ ความพร้อมในปัจจัยต่างๆ พร้อมกันไปด้วย

                        4. การปฏิรูประบบตรวจสอบและประเมินผล เป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญต่อการสร้างผลผลิตให้มีคุณภาพและคุ้มค่า เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ดังนั้น ระบบดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบตั้งแต่เริ่มวางกรอบความคิดสู่การผลิตเป็นสื่อสำเร็จ เมื่อนำไปใช้ต้องมีการประเมินทั้งก่อนและหลังการใช้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่าผลผลิตมีคุณภาพตามมาตรฐานที่ต้องการ

                        5. วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

                          สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

                          แก้อาการไอง่ายๆ ด้วยสูตรสมุนไพรใกล้ตัว
                          ข้อมูลสุขภาพ
                          สุขภาพใจ สุขภาพจิต
                          โรคหัวใจ
                          โรคมะเร็ง
                          เบาหวาน
                          โคเลสเตอรอล
                          ไต
                          สุภาพสตรี
                          ผู้สูงอายุ
                          กระดูกและข้อ
                          ฟัน
                          โรคอ้วน
                          เฉพาะด้านอื่นๆ
                          สารอาหาร
                          ทั่วไป
                           

                          อาการไอ เป็นส่วนหนึ่งของกลไกของปอด ที่ใช้ในการสกัดสิ่งที่บุกรุกเข้ามา โดยทั่วไป อาการไอ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น สูดดมควันต่างๆ ฝุ่นละออง หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ แต่สาเหตุสำคัญ คือ การติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไวรัส หากมีอาการเจ็บคอ ไอแห้งๆ หรือมี เสมหะเล็กน้อย มักเป็นอาการร่วมของโรคหวัด ได้แก่ ไข้หวัด โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เสมหะอุดตันที่คอ ไข้หวัดใหญ่ หรือติดเชื้อไวรัสอื่นๆ
                          ส่วนสาเหตุที่อาจเป็นไปได้แต่พบได้น้อยได้แก่ หัด ไอกรน คออักเสบ กล่องเสียงอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ หรือปอดบวม เป็นต้น
                          วิธีรักษาอาการไอที่ดีที่สุดคือ การรักษาที่ต้นเหตุของการไอ แต่ไม่ใช่การกดอาการไว้ เพราะการไอจะช่วยขับเอาเสมหะ และฝุ่นละอองที่ สูดหายใจเข้าไปออกจากปอด หลอดลม และหลอดคอออกมา
                          รักษาไอให้ถูกวิธี
                          เมื่อเริ่มมีอาการไอ คนส่วนใหญ่มักรีบสรรหายาแก้ไอสารพัดยี่ห้อมากิน ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว บางครั้งยังส่งผลข้างเคียงอื่นๆ ตามมา ทางที่ดีที่สุดควรแก้ด้วยวิธีที่ปลอดภัยดังนี้ค่ะ
                           
                          1.
                          ควรปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมรอบตัว โดยพยายามอยู่ในบริเวณที่มีอากาศไม่เย็น ไม่มีฝุ่นละออง
                           
                          2.
                          อาการไอแบบมีเสมหะ จะเป็นการดึงมูกออกจากเนื้อเยื่อ ควรนอนหนุนหมอนให้ศีรษะสูงกว่าลำตัว หรือในลักษณะกึ่งนอนกึ่งนั่ง เพื่อช่วยให้การหายใจคล่องขึ้น เมื่ออาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยนอนราบตามปกติ
                           
                          3.
                          ถ้ามีอาการไอแบบแห้ง จนไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้ ควรใช้ยาสมุนไพรที่มีลักษณะข้น เพื่อเป็นการเคลือบคอ และบรรเทาอาการปวด
                          บรรเทาอาการไอด้วยสมุนไพร
                           
                          ขิง รสหวานเผ็ดร้อนจะช่วยขับเสมหะ โดยนำเอาส่วนเหง้าขิงแก่ฝนกับน้ำมะนาว หรือใช้เหง้าขิงสดตำผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำและเติม เกลือนิดหน่อย ใช้กวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ หรือใช้ขิงแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ ทุบให้แตกต้มกับน้ำให้เดือด จิบเวลาไอ
                           
                          ดีปลี รสเผ็ดร้อนมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ใช้ผลแก่ของดีปลีประมาณ 1/2-1 ผล ฝนกับน้ำมะนาว เติมเกลือนิดหน่อย กวาดลิ้นหรือจิบ บ่อยๆ
                           
                          เพกา เมล็ดเพกาเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งใน "น้ำจับเลี้ยง" ของคนจีน ใช้ดื่มแก้ร้อนใน เมล็ดเพกามีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ และขับ เสมหะ โดยใช้เมล็ดเพกาประมาณ 1/2-1 กำมือ (หนัก 1.5-3 กรัม) ต้มกับน้ำประมาณ 300 มิลลิลิตร ตั้งไฟอ่อนๆ ต้มให้เดือดนานประมาณ 1 ชั่วโมง ใช้ดื่มเป็นยาวันละ 3 ครั้ง
                           
                          มะขามป้อม ผลสดของมะขามป้อม มีรสเปรี้ยวอมฝาด มีสรรพคุณรักษาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ โดยใช้เนื้อผลแก่สด 2-3 ผล โขลกให้แหลก เหยาะเกลือเล็กน้อย ใช้อมหรือเคี้ยววันละ 3-4 ครั้ง
                           
                          มะขาม รสเปรี้ยวของมะขาม สามารถกัดเสมหะให้ละลายได้ เมื่อมีอาการไอ ระคายคอจากเสมหะ ให้ใช้เนื้อในฝักแก่ของมะขามเปรี้ยว หรือมะขามเปียก (ที่มีรสเปรี้ยว) จิ้มเกลือกินพอสมควร หรืออาจคั้นเป็นน้ำมะขามเหยาะเกลือเล็กน้อย ใช้จิบบ่อยๆ ก็ได้
                           
                          มะนาว รสเปรี้ยวของน้ำมะนาว มีสรรพคุณแก้อาการไอ และขับเสมหะ โดยใช้ผลสดคั้นเอาแต่น้ำ จะได้น้ำมะนาวเข้มข้น และใส่เกลือเล็ก น้อยจิบบ่อยๆ หรือจะทำเป็นน้ำมะนาวใส่เกลือและน้ำตาล ปรุงให้มีรสจัด จิบบ่อยๆ ตลอดวัน หรือหั่นมะนาวขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย จิ้มเกลือ นิดหน่อย ใช้อมบ้างเคี้ยวบ้าง
                           
                          มะแว้งเครือ รสขมของมะแว้ง มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ และกัดเสมหะ โดยใช้ผลแก่สดประมาณ 5-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำ ใส่ เกลือ จิบบ่อยๆ หรือจะใช้ผลสดเคี้ยว แล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ จนกว่าอาการจะดีขึ้นก็ได้
                          กิน...รักษาอาการไอ
                          การเลือกบริโภคก็มีส่วนช่วยบรรเทาอาการไอได้ แต่ต้องเป็นการกินที่ถูกวิธีและถูกสูตรด้วยนะคะ
                           
                          1.
                          กินกระเทียมอัดเม็ดครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
                           
                          2.
                          กินวิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซีเป็นประจำทุกวัน
                           
                          3.
                          อมลูกอมรสเมนทอล หรือชนิดอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการชา จะทำให้รู้สึกชุ่มคอ
                           
                          4.
                          ผสมน้ำส้มไซเดอร์ 1 ส่วน กับน้ำอุ่น 3 ส่วน เอาผ้าขนหนูชุบน้ำดังกล่าว แล้วพันรอบคอไว้ จะช่วยขับเสมหะ
                          บำบัดอาการไอด้วยน้ำมันหอม
                          น้ำมันหอมสำหรับบำบัดอาการไอ แต่ละกลิ่นก็เหมาะกับแต่ละคน ที่มีธาตุเจ้าเรือนต่างกันดังนี้ค่ะ
                           
                          ธาตุเจ้าเรือนดิน ใช้ไพล ไม้จันทน์ มะลิ
                           
                          ธาตุเจ้าเรือนน้ำ ใช้โหระพา กำยาน มะลิ
                           
                          ธาตุเจ้าเรือนลม ใช้โหระพา เปปเปอร์มิ้นต์
                           
                          ธาตุเจ้าเรือนไฟ ใช้โรสแมรี่ พิมเสน การบูร ทีทรี ยูคาลิปตัส ขิง
                           
                          ธาตุเจ้าเรือนเป็นกลาง ใช้กุหลาบ
                          วิธีบำบัด
                           
                          1.
                          ใช้สูดดมโดยตรง หรือใช้หยดในน้ำร้อนแล้วสูดดม
                           
                          2.
                          ผสมน้ำมันหอมระเหย วาสลีน และขี้ผึ้งเข้าด้วยกัน แล้วทาที่บริเวณหน้าอก
                           
                          3.
                          หากคัดจมูกมากจนหายใจไม่ออก บางทีการสูดดมอาจไม่ค่อยได้ผล ให้ใช้นิ้วถูข้างจมูกทั้งสองข้างให้ร้อน สั่งน้ำมูกออก แล้ว ค่อยสูดดมใหม่ หรือใช้การทานวดจะได้ผลมากกว่า
                           
                          4.
                          นำยูคาลิปตัส เปปเปอร์มิ้นต์ ลาเวนเดอร์ และไพล ผสมในอัตราส่วนเท่าๆ กัน ใช้สูดดมสูตรนี้ทำให้น้ำมูกลดลงทันที หายใจ สะดวกขึ้น
                           
                          5.
                          นำยูคาลิปตัส ไธม์ สน ไซเปรส และแซนดัลวูด ชนิดละ 2-3 หยด หยดลงในอ่างน้ำร้อน แล้วสูดดมไอน้ำประมาณ 10 นาที วันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าอาการไอจะหายไป
                           
                          6.
                          ถ้าต้องการแก้อาการวิงเวียนหน้ามืด ให้เติมการบูร หรือพิมเสน ลงไปเล็กน้อยตามสูตรจากข้อ 4 หรืออาจทำเป็นยาดมพกติดตัว ไว้ เวลาเดินทางไกลๆ หากบังเอิญว่ามีใครไอ จาม ก็หยิบขึ้นมาดมป้องกันการติดเชื้อได้ค่ะ

                          หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์

                          หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์

                          การออกแบบมีหลักการพื้นฐาน โดยอาศัยส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทเรียนเรื่อง “ องค์ประกอบศิลป์ ” คือ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี และพื้นผิว นำมาจัดวางเพื่อให้เกิดความสวยงามโดยมีหลักการ ดังนี้

                          1. ความเป็นหน่วย (Unity)
                          ในการออกแบบ ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดของงานนั้นๆ และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับในส่วนย่อยๆก็คงต้องถือหลักนี้เช่นกัน

                          2. ความสมดุลหรือความถ่วง (Balancing)
                          เป็นหลักทั่วๆไปของงานศิลปะที่จะต้องดูความสมดุลของงานนั้นๆ ความรู้สึกทางสมดุลของงานนี้เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในส่วนของความคิดในเรื่องของความงามในสิ่งนั้นๆ มีหลักความสมดุลอยู่ 3 ประการ

                          2.1 ความสมดุลในลักษณะเท่ากัน (Symmetry Balancing)
                          คือมีลักษณะเป็นซ้าย-ขวา บน-ล่าง เป็นต้น ความสมดุลในลักษณะนี้ดูและเข้าใจง่าย

                          2.2 ความสมดุลในลักษณะไม่เท่ากัน (Nonsymmetry Balancing) คือมีลักษณะสมดุลกันในตัวเองไม่จำเป็นจะต้องเท่ากันแต่ดูในด้านความรู้สึกแล้วเกิดความสมดุลกันในตัวลักษณะการสมดุลแบบนี้ผู้ออกแบบจะต้องมีการประลองดูให้แน่ใจในความรู้สึกของผู้พบเห็นด้วยซึ่งเป็นความสมดุลที่เกิดในลักษณะที่แตกต่างกันได้ เช่น ใช้ความสมดุลด้วยผิว (Texture) ด้วยแสง-เงา (Shade) หรือด้วยสี (Colour)

                          2.3 จุดศูนย์ถ่วง (Gravity Balance) การออกแบบใดๆที่เป็นวัตถุสิ่งของและจะต้องใช้งานการทรงตัวจำเป็นที่ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วงได้แก่ การไม่โยกเอียงหรือให้ความรู้สึกไม่มั่นคงแข็งแรง ดังนั้นสิ่งใดที่ต้องการจุศูนย์ถ่วงแล้วผู้ออกแบบจะต้องระมัดระวังในสิ่งนี้ให้มาก ตัวอย่างเช่น เก้าอี้จะต้องตั้งตรงยึดมั่นทั้งสี่ขาเท่าๆกัน การทรงตัวของคนถ้ายืน 2 ขา ก็จะต้องมีน้ำหนักลงที่เท้าทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน ถ้ายืนเอียงหรือพิงฝา น้ำหนักตัวก็จะลงเท้าข้างหนึ่งและส่วนหนึ่งจะลงที่หลังพิงฝา รูปปั้นคนในท่าวิ่งจุดศูนย์ถ่วงจะอยู่ที่ใด ผู้ออกแบบจะต้องรู้และวางรูปได้ถูกต้องเรื่องของจุดศูนย์ถ่วงจึงหมายถึงการทรงตัวของวัตถุสิ่งของนั่นเอง

                          3. ความสัมพันธ์ทางศิลปะ ( Relativity of Arts)
                          ในเรื่องของศิลปะนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณากันหลายขั้นตอนเพราะเป็นเรื่องความรู้สึกที่สัมพันธ์กัน อันได้แก่

                          3.1 การเน้นหรือจุดสนใจ (Emphasis or CentreofInterest) งานด้านศิลปะผู้ออกแบบจะต้องมีจุดเน้นให้เกิดสิ่งที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น โดยมีข้อบอกกล่าวเป็นความรู้สึกร่วมที่เกิดขึ้นเองจากตัวของศิลปกรรมนั้นๆ ความรู้สึกนี้ผู้ออกแบบจะต้องพยายามให้เกิดขึ้นเหมือนกัน

                          3.2 จุดสำคัญรอง ( Subordinate)
                          คงคล้ายกับจุดเน้นนั่นเองแต่มีความสำคัญรองลงไปตามลำดับซึ่งอาจจะเป็นรองส่วนที่ 1ส่วนที่ 2 ก็ได้ ส่วนนี้จะช่วยให้เกิดความลดหลั่นทางผลงานที่แสดง ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย

                          3.3 จังหวะ ( Rhythem)
                          โดยทั่วๆไปสิ่งที่สัมพันธ์กันในสิ่งนั้นๆย่อมมีจังหวะ ระยะหรือความถี่ห่างในตัวมันเองก็ดีหรือสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์อยู่ก็ดีจะเป็นเส้น สี เงา หรือช่วงจังหวะของการตกแต่ง แสงไฟ ลวดลาย ที่มีความสัมพันธ์กันในที่นั้นเป็นความรู้สึกของผู้พบเห็นหรือผู้ออกแบบจะรู้สึกในความงามนั่นเอง

                          3.4 ความต่างกัน ( Contrast)
                          เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้มีการเคลื่อนไหวไม่ซ้ำซากเกินไปหรือเกิดความเบื่อหน่าย จำเจ ในการตกแต่งก็เช่นกัน ปัจจุบันผู้ออกแบบมักจะหาทางให้เกิดความรู้สึกขัดกันต่างกันเช่น เก้าอี้ชุดสมัยใหม่แต่ขณะเดียวกันก็มีเก้าอี้สมัยรัชกาลที่ 5 อยู่ด้วย 1 ตัว เช่นนี้ผู้พบเห็นจะเกิดความรู้สึกแตกต่างกันทำให้เกิดความรู้สึก ไม่ซ้ำซาก รสชาติแตกต่างออกไป

                          3.5 ความกลมกลืน ( Harmomies)

                          ความกลมกลืนในที่นี้หมายถึงพิจารณาในส่วนรวมทั้งหมดแม้จะมีบางอย่างที่แตกต่างกันการใช้สีที่ตัดกันหรือการใช้ผิว ใช้เส้นที่ขัดกัน ความรู้สึกส่วนน้อยนี้ไม่ทำให้ส่วนรวมเสียก็ถือว่าเกิดความกลมกลืนกันในส่วนรวม ความกลมกลืนในส่วนรวมนี้ถ้าจะแยกก็ได้แก่ความเน้นไปในส่วนมูลฐานทางศิลปะอันได้แก่ เส้น แสง-เงา รูปทรง ขนาด ผิว สี นั่นเอง

                          ผลิตภัณฑ์ที่ดีย่อมเกิดมาจากการออกแบบที่ดีในการออกแบบผลิตภัณฑ์ นักออกแบบต้องคำนึงถึงหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นเกณฑ์ในการกำหนดคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ที่ดีเอาไว้ว่าควรจะมีองค์ประกอบอะไรบ้างแล้วใช้ความคิดสร้างสรรค์ วิธีการต่างๆ ที่ได้กล่าวมาเสนอแนวคิดให้ผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมตามหลักการออกแบบโดยหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่นักออกแบบควรคำนึงนั้นมีอยู่ 9 ประการ คือ

                          • หน้าที่ใช้สอย ( FUNCTION)

                          • ความปลอดภัย (SAFETY)

                          • ความแข็งแรง (CONSTRUCTION)

                          • ความสะดวกสบายในการใช้ (ERGONOMICS)

                          • ความสวยงาม (AESTHETIES)

                          • ราคาพอสมควร (COST)

                          • การซ่อมแซมง่าย (EASE OF MAINTENANCE)

                          • วัสดุและการผลิต (MATERIALS AND PRODUCTION)

                          • การขนส่ง (TRANSPORTATION)

                          1 หน้าที่ใช้สอย

                          หน้าที่ใช้สอยถือเป็นหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกที่ต้องคำนึงผลิตภัณฑ์ทุกชนิดต้องมีหน้าที่ใช้สอยถูกต้องตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย ผลิตภัณฑ์นั้นถือว่ามีประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) แต่ถ้าหากผลิตภัณฑ์ใดไม่สามารถสนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์นั้นก็จะถือว่ามีประโยชน์ใช้สอยไม่ดีเท่าที่ควร (LOW FUNTION)

                          สำหรับคำว่าประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) นั้น ดลต์ รัตนทัศนีย์ ( 2528 : 1) ได้กล่าวไว้ว่าเพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจขอให้ดูตัวอย่างการออกแบบมีดหั่นผักแม้ว่ามีดหั่นผักจะมีประสิทธิภาพในการหั่นผักให้ขาดได้ตามความต้องการ แต่จะกล่าวว่ามีดนั้นมีประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) ยังไม่ได้ จะต้องมีองค์ประกอบอย่างอื่นร่วมอีกเช่น ด้ามจับของมีดนั้นจะต้องมีความโค้งเว้าที่สัมพันธ์กับขนาดของมือผู้ใช้ ซึ่งจะเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายในการหั่นผักด้วย และภายหลังจากการใช้งานแล้วยังสามารถทำความสะอาดได้ง่าย การเก็บและบำรุงรักษาจะต้องง่ายสะดวกด้วย ประโยชน์ใช้สอยของมีดจึงจะครบถ้วนและสมบูรณ์

                          เรื่องหน้าที่ใช้สอยนับว่าเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนซับซ้อนมาก ผลิตภัณฑ์บางอย่างมีประโยชน์ใช้สอยตามที่ผู้คนทั่วๆ ไปทราบเบื้องต้นว่า มีหน้าที่ใช้สอยแบบนี้ แต่ความละเอียดอ่อนที่นักออกแบบได้คิดออกมานั้นได้ตอบสนองความสะดวกสบายอย่างเต็มที่ เช่น มีดในครัวมีหน้าที่หลักคือใช้ความคมช่วยในการหั่น สับ แต่เราจะเห็นได้ว่ามีการออกแบบมีดที่ใช้ในครัวอยู่มากมายหลายแบบหลายชนิดตามความละเอียดในการใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะที่แตกต่างเช่น มีดสำหรับปอกผลไม้ มีดแล่เนื้อสัตว์ มีดสับกระดูก มีดบะช่อ มีดหั่นผัก เป็นต้น ซึ่งก็ได้มีการออกแบบลักษณะแตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน ถ้าหากมีการใช้มีดอยู่ชนิดเดียวแล้วใช้กันทุกอย่างตั้งแต่แล่เนื้อ สับบะช่อ สับกระดูก หั่นผัก ก็อาจจะใช้ได้ แต่จะไม่ได้ความสะดวกเท่าที่ควร หรืออาจได้รับอุบัติเหตุขณะที่ใช้ได้ เพราะไม่ใช่ประโยชน์ใช้สอยที่ได้รับการออกแบบมาให้ใช้เป็นการเฉพาะอย่าง

                          การออกแบบเก้าอี้ก็เหมือนกัน หน้าที่ใช้สอยเบื้องต้นของเก้าอี้ คือใช้สำหรับนั่ง แต่นั่งในกิจกรรมใดนั่งในห้องรับแขก ขนาดลักษณะรูปแบบเก้าอี้ก็เป็นความสะดวกในการนั่งรับแขก พูดคุยกัน นั่งรับประทานอาหาร ขนาดลักษณะเก้าอี้ก็เป็นความเหมาะสมกับโต๊ะอาหาร นั่งเขียนแบบบนโต๊ะเขียนแบบ เก้าอี้ก็จะมีขนาดลักษะณที่ใช้สำหรับการนั่งทำงานเขียนแบบ ถ้าจะเอาเก้าอี้รับแขกมาใช้นั่งเขียนแบบ ก็คงจะเกิดการเมื่อยล้า ปวดหลัง ปวดคอ แล้วนั่งทำงานได้ไม่นาน ตัวอย่างดังกล่าวต้องการที่จะพูดถึงเรื่องของหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและละเอียดอ่อนมาก ซึ่งนักออกแบบจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด

                          2 ความปลอดภัย

                          สิ่งที่อำนวยประโยชน์ได้มากเพียงใดย่อมจะมีโทษเพียงนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสะดวกต่างๆ มักจะเกิดจากเครื่องจักรกลและเครื่องใช้ไฟฟ้า การออกแบบควรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องแสดงเครื่องหมายไว้ให้ชัดเจนหรือมีคำอธิบายไว้

                          ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กต้องคำนึงถึงวัสดุที่เป็นพิษเวลาเด็กเอาเข้าปากกัดหรืออม นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้เป็นสำคัญมีการออกแบบบางอย่างต้องใช้เทคนิคที่เรียกว่าแบบธรรมดาแต่คาดไม่ถึงช่วยในการให้ความปลอดภัย เช่น การออกแบบหัวเกลียววาล์ว ถังแก๊ส หรือปุ่มเกลียว ล็อกใบพัดของพัดลมจะมีการทำเกลียวเปิดให้ย้อนศรตรงกันข้ามกับเกลียวทั่วๆ ไปเพื่อความปลอดภัยสำหรับคนที่ไม่ทรายหรือเคยมือไปหมุนเล่นคือ ยิ่งหมุนก็ยิ่งขันแน่นเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้

                          3 ความแข็งแรง

                          ผลิตภัณฑ์จะต้องมีความแข็งแรงในตัวของผลิตภัณฑ์หรือโครงสร้างเป็นความเหมาะสมในการที่นักออกแบบรู้จักใช้คุณสมบัติของวัสดุและจำนวน หรือปริมาณของโครงสร้าง ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะต้องมีการรับน้ำหนัก เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ต้องเข้าใจหลักโครงสร้างและการรับน้ำหนัก อีกทั้งต้องไม่ทิ้งเรื่องของความสวยงามทางศิลปะ เพราะมีปัญหาว่าถ้าใช้โครงสร้างให้มากเพื่อความแข็งแรงจะเกิดสวนทางกับความงาม นักออกแบบจะต้องเป็นผู้ดึงเอาสิ่งสองสิ่งนี้เข้ามาอยู่ในความพอดีให้ได้

                          ส่วนความแข็งแรงของตัวผลิตภัณฑ์เองนั้นก็ขึ้นอยู่ที่การออกแบบรูปร่างและการเลือกใช้วัสดุ และประกอบกับการศึกษาข้อมูลการใช้ผลิตภัณฑ์ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องรับน้ำหนักหรือกระทบกระแทกอะไรหรือไม่ในขณะใช้งานก็คงต้องทดลองประกอบการออกแบบไปด้วยแต่อย่างไรก็ตาม ความแข็งแรงของโครงสร้างหรือตัวผลิตภัณฑ์นอกจากเลือกใช้ประเภทของวัสดุ โครงสร้างที่เหมาะสมแล้วยังต้องคำนึงถึงความประหยัดควบคู่กันไปด้วย

                          4 ความสะดวกสบายในการใช้

                          นักออกแบบต้องศึกษาวิชากายวิภาคเชิงกลเกี่ยวกับสัดส่วน ขนาด และขีดจำกัดที่เหมาะสมสำหรับอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งจะประกอบด้วยความรู้ทางด้านขนาดสัดส่วนมนุษย์ (ANTHROPOMETRY) ด้านสรีรศาสตร์ (PHYSIOLOGY) จะทำให้ทราบ ขีดจำกัด ความสามารถของอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ เพื่อใช้ประกอบการออกแบบ หรือศึกษาด้านจิตวิทยา (PSYCHOLOGY) ซึ่งความรู้ในด้านต่างๆ ที่กล่าวมานี้ จะทำให้นักออกแบบ ออกแบบและกำหนดขนาด (DIMENSIONS) ส่วนโค้ง ส่วนเว้า ส่วนตรง ส่วนแคบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างพอเหมาะกับร่างกายหรืออวัยวะของมนุษย์ที่ใช้ ก็จะเกิดความสะดวกสบายในการใช้การไม่เมื่อยมือหรือเกิดการล้าในขณะที่ใช้ไปนานๆ ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาวิชาดังกล่าว ก็จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้ต้องใช้อวัยวะร่างกายไปสัมผัสเป็นเวลานาน เช่น เก้าอี้ ด้าม เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ การออกแบบภายในห้องโดยสารรถยนต์ ที่มือจับรถจักรยาน ปุ่มสัมผัสต่างๆ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ยกตัวอย่างมานี้ถ้าผู้ใช้ผู้ใดได้เคยใช้มาแล้วเกิดความไม่สบายร่างกายขึ้น ก็แสดงว่าศึกษากายวิภาคเชิงกลไม่ดีพอแต่ทั้งนี้ก็ต้องศึกษาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้ดีก่อน จะไปเหมาว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ดี เพราะผลิตภัณฑ์บางชนิดผลิตมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งออกแบบโดยใช้มาตรฐานผู้ใช้ของชาวตะวันตก ที่มีรูปร่างใหญ่โตกว่าชาวเอเชีย เมื่อชาวเอเชียนำมาใช้อาจจะไม่พอดีหรือหลวม ไม่สะดวกในการใช้งาน นักออกแบบจึงจำเป็นต้องศึกษาสัดส่วนร่างกายของชนชาติหรือเผ่าพันธุ์ที่ใช้ผลิตภัณฑ์เป็นเกณฑ์

                          5 ความสวยงาม

                          ผลิตภัณฑ์ในยุคปัจจุบันนี้ความสวยงามนับว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหน้าที่ใช้สอยเลย ความสวยงามจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อเพราะประทับใจ ส่วนหน้าที่ใช้สอยจะดีหรือไม่ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งคือใช้ไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดข้อบกพร่องในหน้าที่ใช้สอยให้เห็นภายหลัง ผลิตภัณฑ์บางอย่างความสวยงามก็คือ หน้าที่ใช้สอยนั่นเอง เช่น ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ของโชว์ตกแต่งต่างๆ ซึ่งผู้ซื้อเกิดความประทับใจในความสวยงามของผลิตภัณฑ์ ความสวยงามจะเกิดมาจากสิ่งสองสิ่งด้วยกันคือ รูปร่าง (FORM) และสี (COLOR) การกำหนดรูปร่างและสี ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่เหมือนกับการกำหนด รูปร่าง สี ได้ตามความนึกคิดของจิตรกรที่ต้องการ แต่ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นในลักษณะศิลปะอุตสาหกรรมจะทำตามความชอบ ความรู้สึกนึกคิดของนักออกแบบแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้จำเป็นต้องยึดข้อมูลและกฎเกณฑ์ผสมผสานรูปร่างและสีสันให้เหมาะสม

                          ด้วยเหตุของความสำคัญของรูปร่างและสีที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์ นักออกแบบจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาวิชาทฤษฏีหรือหลีกการออกแบบและวิชาทฤษฏีสี ซึ่งเป็นวิชาทางด้านของศิลปะแล้วนำมาประยุกต์ผสานใช้กับศิลปะทางด้านอุตสาหกรรมให้เกิดความกลมกลืน

                          6 ราคาพอสมควร

                          ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาขายนั้นย่อมต้องมีข้อมูลด้านผู้บริโภคและการตลาดที่ได้ค้นคว้าและสำรวจแล้วผลิตภัณฑ์ย่อมจะต้องมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้ว่าเป็นคนกลุ่มใด อาชีพฐานะเป็นอย่างไร มีความต้องการใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นี้เพียงใด นักออกแบบก็จะเป็นผู้กำหนดแบบผลิตภัณฑ์ ประมาณราคาขายให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่จะซื้อได้การจะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีราคาเหมาะสมกับผู้ซื้อนั้นก็อยู่ที่การเลือกใช้ชนิดหรือเกรดของวัสดุและเลือกวิธีการผลิตที่ง่ายรวดเร็ว เหมาะสม

                          อย่างไรก็ดี ถ้าประมาณการออกมาแล้วปรากฏว่าราคาค่อนข้างจะสูงกว่าที่กำหนดไว้ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาองค์ประกอบด้านต่างๆ กันใหม่ แต่ก็ยังต้องคงไว้ซึ่งคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้นเรียกว่าเป็นวิธีการลดค่าใช้จ่าย

                          7 การซ่อมแซมง่าย

                          หลักการนี้คงจะใช้กับผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกล เครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีกลไกภายในซับซ้อน อะไหล่บางชิ้นย่อมต้องมีการเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งานหรือการใช้งานในทางที่ผิด นักออกแบบย่อมที่จะต้องศึกษาถึงตำแหน่งในการจัดวางกลไกแต่ละชิ้นตลอดจนนอตสกรู เพื่อที่จะได้ออกแบบส่วนของฝาครอบบริเวณต่างๆ ให้สะดวกในการถอดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ง่าย

                          8 วัสดุและวิธีการผลิต

                          ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ผลิตด้วยวัสดุสังเคราะห์อาจมีกรรมวิธีการเลือกใช้วัสดุและวิธีผลิตได้หลายแบบแต่แบบหรือวิธีใดถึงจะเหมาะสมที่สุด ที่จะไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าที่ประมาณ ฉะนั้น นักออกแบบคงจะต้องศึกษาเรื่องวัสดุและวิธีผลิตให้ลึกซึ้งโดยเฉพาะวัสดุจำพวกพลาสติกในแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติทางกายภาพที่ต่างกันออกไป เช่น มีความใส ทนความร้อน ผิวมันวาว ทนกรดด่างได้ดี ไม่ลื่น เป็นต้น ก็ต้องเลือกให้คุณสมบัติดังกล่าวให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่พึงมียิ่งในยุคสมัยนี้มีการรณรงค์ช่วยกันพิทักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการใช้วัสดุที่นำกลับหมุนเวียนมาใช้ใหม่ก็ยิ่งทำให้นักออกแบบย่อมต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นอีกคือ เป็นผู้ช่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการเลือกใช้วัสดุที่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ที่เรียกว่า “ รีไซเคิล ”

                          9 การขนส่ง

                          นักออกแบบต้องคำนึงถึงการประหยัดค่าขนส่ง การขนส่งสะดวกหรือไม่ ระยะใกล้หรือระยะไกลกินเนื้อที่ในการขนส่งมากน้อยเพียงใด การขนส่งทางบกทางน้ำหรือทางอากาศต้องทำการบรรจุหีบห่ออย่างไร ถึงจะทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่เกิดการเสียหายชำรุด ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกสินค้าหรือเนื้อที่ที่ใช้ในการขนส่งมีขนาด กว้าง ยาว สูง เท่าไหร่ เป็นต้น หรือในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ที่ทำการออกแบบมีขนาดใหญ่โตยาวมาก เช่น เตียง หรือพัดลมแบบตั้งพื้น นักออกแบบก็ควรที่จะคำนึงถึงเรื่องการขนส่ง ตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบกันเลย คือ ออกแบบให้มีชิ้นส่วนสามารถถอดประกอบได้ง่าย สะดวก เพื่อทำให้หีบห่อมีขนาดเล็กสุดสามารถบรรจุได้ในลังที่เป็นขนาดมาตรฐานเพื่อการประหยัดค่าขนส่ง เมื่อผู้ซื้อซื้อไปก็สามารถที่จะขนส่งได้ด้วยตนเองนำกลับไปบ้านก็สามารถประกอบชิ้นส่วนให้เข้ารูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้โดยสะดวกด้วยตนเอง

                          เรื่องหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้กล่าวมาทั้ง 9 ข้อนี้เป็นหลักการที่นักออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึงเป็นหลักการทางสากลที่ได้กล่าวไว้ในขอบเขตอย่างกว้าง ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ไว้ทั่วทุกกลุ่มทุกประเภทในผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดนั้น อาจจะไม่ต้องคำนึงหลักการดังกล่าวครบทุกข้อก็ได้ ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์บางชนิดก็อาจจะต้องคำนึงถึงหลักการดังกล่าวครบถ้วนทุกข้อ เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้แขวนเสื้อ ก็คงจะเน้นหลักการด้านประโยชน์ใช้สอย ความสะดวกในการใช้และความสวยงามเป็นหลัก คงจะไม่ต้องไปคำนึงถึงด้านการซ่อมแซม เพราะไม่มีกลไกซับซ้อนอะไร หรือการขนส่ง เพราะขนาดจำกัดตามประโยชน์ใช้สอยบังคับ เป็นต้น ในขณะที่ผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์รถยนต์ ก็จำเป็นที่นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ครบทั้ง 9 ข้อ เป็นต้น